Knowledge

Quiz3. สับสนเกี่ยวกับ Vector Group ของหม้อแปลงว่าจะใช้เป็น Dyn11 หรือ Dyn1 อันไหนดีกว่ากัน


Ans
Vector Group ที่ระบุในหม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 3 เฟสเป็นคำอธิบายถึงมุมต่างเฟสของรูปคลื่นสัญญาณระหว่าง ขดลวดแรงสูงกับขดลวดแรงต่ำที่เฟสเดียวกัน โดย Dyn1 นั้นมีมุมต่างเฟสของขดลวดแรงต่ำล้าหลัง (Lag) ขดลวดแรงสูงอยู่ 300 ในขณะที่ Dyn11นั้น มุมต่างเฟสของแรงต่ำนำหน้า(Lead) แรงสูง 300 การกำหนดตัวเลข 11 หรือ 1 นั้นเป็นการเปรียบเทียบเป็นการเปรียบเทียบกับเข็มนาฬิกา ใน 1รอบจากหมายเลข 1 ถึง 12 คิดเป็น 1 cycle ของสัญญาณคลื่นคือ 3600 แสดงว่าแต่ละหมายเลขของนาฬิกานั้นมีความแตกต่างกัน 300 ตามมุมไฟฟ้า เราสมมุติให้เฟสแรงสูงอยู่ที่ศูนย์นาฬิกา(หมายเลข 12) เมื่อเฟสแรงต่ำนำหน้าเฟสแรงสูง 30o แสดงว่าเข็มแรงต่ำ ต้องจะอยู่ที่ตัวเลข 11นาฬิกา เราจะเรียก Vector Group หรือ Phase Displacement ของหม้อแปลงนี้ว่า Dyn11 ในทำนองเดียวกันหากเฟสแรงต่ำล้าหลังแรงสูง 30o เข็มจะชี้ที่เลข 1นาฬิกา หม้อแปลงนี้คือ Dyn1 การใช้ตัวอักษร D , d , Y หรือ y นั้น จะกำหนดตามการต่อเชื่อมขดลวด 3 เฟสให้เป็น Delta หรือ Star(Y) ขดลวดด้านแรงสูงจะใช้สัญลักษณ์อักษรตัวใหญ่ เช่น D หรือ Y ส่วนขดแรงต่ำใช้อักษรตัวเล็กเช่น d หรือ y – ถ้าขดลวดด้านแรง - ถ้าขดลวดด้านแรงสูงต่อแบบ Delta และขดแรงต่ำต่อแบบ Star เราจะเรียกเป็น Dyn.. - ถ้าขดลวดด้านแรงสูงต่อแบบ Star และขดแรงต่ำต่อแบบ Delta เราจะเรียกเป็น YNd.. - ถ้าขดลวดด้านแรงสูงต่อแบบ Delta และขดแรงต่ำต่อแบบ Delta เราจะเรียกเป็น Dd.. เป็นต้น - กรณีหม้อแปลง step down จาก 22kv delta เป็น 400/230v star เราเรียกเป็น Dyn.. - กรณีหม้อแปลง step up จาก 400v delta เป็น 22kv star เราเรียกเป็น YNd.. หม้อแปลงที่ต่าง vector group กันเช่น Dyn1 , Dyn11 , Dyn5 หรือ Dyn7 มีความแตกต่างกันเฉพาะการ ต่อสายภายในหม้อแปลง ทำให้มุมต่างเฟสระหว่างแรงสูงและแรงต่ำแตกต่างกัน ซึ่งไม่ได้มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของหม้อแปลงแต่อย่างใด เราจึงเลือกใช้แบบไหนก็ได้ตามที่เห็นสมควร แต่หากจะต้องการเอา หม้อแปลงมาขนานกัน จำเป็นต้องใช้ Vector group แบบเดียวกันเท่านั้น ดังนั้นในทางปฏิบัติเรามักเลือกใช้ vector group ให้เหมือนๆกันในแต่ละที่ ยกตัวอย่างของประเทศเยอรมัน เขาใช้ Dyn5 เป็นมาตรฐาน ส่วนใน บ้านเราสำหรับงานเอกชนทั่วๆไปนั้นเลือกใช้ Dyn11 เป็นมาตรฐาน ce